+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประเทศไทย การเมืองหลังพ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน



การเมืองประเทศไทย ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ถึงปัจจุบัน แนวคิดการเมืองมี 3 แนวทางที่ต่อสู้ชิงอำนาจรัฐคือ แนวคิดอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ แนวคิดเสรีประชาธิปไตย และแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย แต่การพัฒนาประเทศยังไม่ก้าวไกลในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม 


"นอร์แมน เจค็อบส์นักรัฐศาสตร์กล่าว ประเทศไทย ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา" การเมืองภายใต้ทฤษฏีเกมในทางรัฐศาสตร์ วัฏจักรการเมือง รัฐประหาร รัฐธรรมนูญ  การเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาล เฉลี่ยทุก 6 ปี เป็นวงจรอุบาทว์การเมืองไทย

ต่อมาหลังจากกองทัพไทยในระบอบอำนาจนิยมรบชนะพรรคคอมมูนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) ในสงครามคอมมูนิสต์ เมื่อปี 2525 ผู้เขียนได้ประเมินสถานการณ์การเมืองประเทศไทยในขณะนั้น พบว่า
1.ผู้นำกองทัพในขณะนั้นมีเป้าหมายต่อไปคือการควบคุมอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองประเทศ  
2.มีการวางยุทธศาสตร์ตั้งค่ายทหารทุกจังหวัดเพื่อเตรียมการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จควบคุมประเทศ 
3.กองทัพหันมารบกับประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยเพื่อใช้อำนาจเบ็ดเสร็จปกครองประเทศต่อไป

กองทัพไม่มีเหตุผลและความจำเป็น จัดตั้งค่ายและขยายกำลังทหารทุกจังหวัด เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณรัฐ เพราะมองไม่มีเหตุศัตรูภายนอกประเทศ

สงครามภายในยังไม่สิ้นสุด กลายเป็นสงครามการเมืองชิงอำนาจรัฐระหว่างฝ่ายอำนาจนิยมขวาจัดกับฝายเสรีประชาธิปไตย 

เกมการเมืองในประเทศไทยไม่เปลี่ยนแปลง ปรากฏฝ่ายอำนาจนิยมไม่เล่นตามกฏเกณฑ์กติกาหลักการประชาธิปไตย ภายใต้ทฤษฏีสมคบคิดสร้างสถานการณ์เหตุวิกฤติขัดแย้งทางการเมืองเป็นเงื่อนไขความชอบธรรมรัฐประหาร 2549 และรัฐประหารซ้ำ 2557 เพื่อยึดอำนาจโค่นล้มรัฐบาล่ฝายประชาธิปไตยที่มาจากเสียงข้างมากโดยชอบธรรมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ โดยจัดตั้งรัฐบาลใช้อำนาจเบ็ดเสร็จควบคุมประเทศ อันส่งผลเสียหายกระทบต่อความเชื่อถือจากประเทศประชาธิปไตยสากลในโลก และการบริหารพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ทั้งที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงด้านทรัพยากรในแผ่นดินได้แก่ แร่ทองคำ น้ำมัน แร่ธาตุอื่นๆ และทรัพยากรอื่นๆ แต่รัฐบาลอำนาจนิยมขาดประสิทธิภาพในการบริหารการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และสูญเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศ

คณะรัฐประหาร คสช. ออกแบบโครงสร้างการปกครองไม่ใช่ประชาธิปไตยสากลแบบรัฐสภามีกษัตริย์เป็นประมุข แต่เป็นการวางโครงสร้างสืบถอดอำนาจระบอบอำนาจนิยมคสช.ที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบรวมศุนย์โดยให้คณะผู้นำกองทัพมีอำนาจเบ็ดเสร็จในรูปคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อควบคุมรัฐบาลและรัฐสภาเช่นคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมูนิสต์ในประเทศระบอบเผด็จการสังคมนิยมคอมมูนิสต์  เป็นการสืบทอดอำนาจระบอบอมาตยาธิปไตย" ประกอบด้วยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ องค์กรอิสระ กอ.รมน. และพรรคการเมืองทหาร ซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนสืบทอดระบอบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ คสช.ไว้ตามรัฐธรรมนูญ 2560 และกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฏหมายต่างๆ  มีประเด็นพิจารณา ดังนี้

1.ปัญหารัฐธรรมนูญ ที่มาและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ2560 ไม่เป็นไปตามหลักการในระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการวางแนวทางการสืบถอดอำนาจเผด็จการ Junta

2.ปัญหารัฐบาล คสช. วางโครงสร้างการสืบทอดอำนาจรัฐเผด็จการ Junta ไปก้าวล้ำพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยสากลแบบรัฐสภามีกษัตริย์เป็นประมุข 

3.ปัญหาระบบการเลือกตั้งสส. การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทั้งสส.เขตและสส.บัญชีรายชื่อ ทำให้สับสนเวลาลงคะแนน วิธีคิดคะแนนที่ผิดเพี้ยนพิศดาร พรรคที่ไม่ได้ สส.เขต เลยแต่ได้สส.บัญชีรายชื่อ ส่วนพรรคที่ได้ สส.เขตจำนวนสูงสุด กลับไม่ได้ สส.บัญชีรายชื่อ คือ=0คน

4.ปัญหาระบบคัดเลือกสว.โดยคัดสรรของ คณะกรรมการฯไม่ใช่เลือกตั้งโดยประชาชนแต่เพื่อเป็นการค้ำจุนอำนาจเผด็จการ มีปัญหาไม่เป็น กลางไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม

5.ปัญหาความชอบธรรม เสถียรภาพในการเข้าสู่อำนาจรัฐของรัฐบาลเผด็จการ Junta ที่มาจากรัฐประหาร และประสิทธิภาพการบริหารที่ไร้วิสัยทัศน์การบริหารพัฒนาของรัฐบาลส่งผลลบต่อการพัฒนาในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม 


ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ2560 ฉบับเผด็จการเป็นการวางแนวทางค้ำจุนอำนาจเผด็จการ Junta กลายเป็นอุปสรรคในการบริหารการพัฒนาประเทศในด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคม ซึ่งรัฐบาลไม่ประสบผลสำเร็จไม่สามารถแก้ไขปัญหาประเทศ และความเดือดร้อนของประชาชน คนไทยยังตกอยู่ในสภาพโง่จนเจ็บ80%ของปรเทศ ตลอดจนเป็นการบั่นทอนพลังอำนาจของชาติไม่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศในโลกยุคโลกาภิวัตน์

ว่าด้วย "หมุดคณะราษฏร์" 24 มิถุนายน 2475 เมื่อประมาณกลางปี 2538  กทม.มีการปรับปรุงซ่อมแซมลานพระบรมรูปทรงม้า เขตดุสิต ได้ค้นพบหมุดคณะราษฏร์ ณ จุดบริเวณหน้าสนามเสือป่า ต่อมาปี 2549 เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง กองทัพรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ปรากฏหมุดคณะราษฏร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การเมืองไทยถูกถอนทิ้งไป

การเมืองเป็นเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ เมื่อประเทศไทยไม่มีศึกในและนอกประเทศ กองทัพหันมารบกับประชาชนเพื่อใช้อำนาจเบ็ดเสร็จปกครองประเทศ โลกยุคปัจจุบันกองทัพควรปรับตัวให้ทันสมัยในระบอบประชาธิปไตยเลิกเล่นเกมอำนาจยอมรับเสียงข้างมากโดยชอบธรรมของประชาชนเพื่อการพัฒนาด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น