+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความรู้ของพระราชาเพื่อประชาชน




ศาสตร์หรือความรู้ของพระราชาเพื่อประชาชนคิอ"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"เพื่อสร้างพลานุภาพให้ประชาชนร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาชาติแผ่นดินไทยและต่อสู้เอาชนะความยากจน ซึ่งเป็นมรดกจากพระปรีชาญาณอันยิ่งใหญ์ ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างแนวทางปฏิบัติ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ชาวไทยและประเทศไทยแต่เป็นความรู้ให้แก่คนทั้งโลก ที่ในหลวงรัชกาลที่9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงทิ้งไว้เป็นทุนทางปัญญาในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนโดยสร้างครอบครัวให้แข็งแกร่ง สังคมเป็นปึกแผ่น มีหลักประกันความมั่นคง เป็นต้นทุนให้ประชาชนไทยและประเทศไทย

ระบบความรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สามารถสร้างพลานุภาพของประชาชน เป็นการบูรณาการความรู้แนวทางสายกลางตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา เข้ากับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ด้วยการศึกษาและประสบการณ์ สำรวจค้นคว้าวิเคราะห์วิจัยทดลองสรุปผลเป็นแนวทางปฏิบัติด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีที่ใดที่ไม่มีรอยบาทของพระองค์ไม่ได้ผ่านไปในแผ่นดิน เป้าหมายคือการสร้างชาติแผ่นดินไทยและทำสงครามกับความยากจนของประชาชน แนวปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มี 2 แนวทาง คือ 1)แนวทางปฏิบัติสำหรับนอกภาคเกษตร 2)แนวทางปฏิบัติสำหรับเกษตรกร บนหลักการพึ่งตนเอง 5 ประการ ได้แก่

1.ด้านจิตใจ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีจิตสำนึกที่ดี ประนีประนอม เพื่อชาติบ้านเมือง
2.ด้านสังคม ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเมตตาธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันและสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง มีอิสระ ให้สามารถพึ่งพาตนเอง
3.ด้านทรัพยากรธรรมขาติและสิ่งแวดล้อม ยึดอยู่บนหลักการของความยั่งยืน ให้มีการจัดการอย่างฉลาด และหาทางเพิ่มมูลค่า
4.ด้านเทคโนโลยีควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เลือกใช้เทคโนโลยีทันสมัยให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อมของประเทศ
5.ด้านเศรษฐกิจ ยึดหลักพออยู่พอกินพอใช้ แล้วจึงคิดหาทางเพิ่มรายได้แบบค่อยเป็นค่อยไปหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ที่ไม่มีผลคุ้มค่าพยายามลดความเสี่ยงด้านต่างๆ

แนวทางปฏิบัติสำหรับคนทั่วไป เป็นแนวทางดำเนินชีวิต ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง สังคม และประเทศ สรุปโดยสังเขป มี 5 ประการ ดังนี้
1.รู้รักสามัคคี ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ และแข่งขันทางการค้าประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง ปฏิบัติตามกฏระเบียบในสังคม
2.ยึดความประหยัด ลดค่าใช้จ่ายเรื่องที่ไม่จำเป็น มีความมัธยัสถ์ละทิ้งสิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆ สร้างมูลค่าเพิ่ม
3.ยึดถืออาชีพสุจริต ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต แม้จะตกอยู่ภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ
4.ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดมีรายได้เพิ่มขึ้นในการประกอบอาชีพเพื่อความมั่นคงของครอบครัว
5.ปฏิบัติตนเป็นคนดี ประพฤติตนในแนวทางที่ดี เคารพและปฏิบัติตามกฏหมาย ลดละเลิกสิ่งชั่วหรืออบายมุขให้หมดสิ้นไป

พระองค์ทรงสอนประชาชนให้ "รู้รักสามัคคี ยึดถือประหยัด มีอาชีพสุจริต ใฝ่หาความรู้ ปฏิบัติตนเป็นคนดี"เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืนทั้งในด้านการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย นับว่าพระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพยิ่ง สหประชาชาติจึงได้ขนานนามพระองค์อย่างยิ่งใหญ่ว่า กษัตริย์ของโลก(KING OF THE WORLD)

รัฐบาลไทยและประชาชนไทยจักต้องมุ่งมั่นสืบสานยึดถือตามศาสตร์หรือความรู้ของพระราชาซึ่งเป็นพระราชปณิธาณยิ่งใหญ่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อสร้างชาติสร้างแผ่นดินไทย ต่อสู่กับความยากจนของประชาชน ทำนุบำรุงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ไปสู่เป้าหมายให้ประเทศเป็นปึกแผ่น พระุพุทธศาสนามั่นคง ประชาชนมีความอยู่ดีกินดีผาสุกในการดำรงชีวิต และความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองของประเทศไทย

ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ขอสู้ศึกทุกเมื่อไม่หวั่นไหว ขอทนทุกข์รุกโรมโหมกายใจ ขอฝ่าฟันผองภัยด้วยใจทนง...ความฝันอันสูงสุดพระชาของโลก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นศาสตร์หรือความรู้ของพระราชเพื่อประขาชนในการที่รัฐบาลทำสงครามกับความยากจนของประชาชน ในการบริหารพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น