+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

Tuesday, October 11, 2016

ประเทศไทย การเมืองภายใต้อำนาจนิยมโลกาภิวัตน์ (2)




การเมืองประเทศไทย ภายใต้อำนาจนิยมโลกาภิว้ตน์ วิเคราะห์ในเชิงรัฐศาสตร์ เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าฝ่ายอำนาจนิยมอมาตยาธิปไตย "ผูกขาดรักชาติคือควบคุมอำนาจ" ในการบริหารประเทศ เกิด"วงจรรัฐประหาร"ไม่สิ้นสุดเป็นเหตุแห่งการบั่นทอนเสถียรภาพและความมั่นคงการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความปรองดองสมานฉันท์ในประเทศ ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และความผาสุกของประชาชน

สังคมการเมืองประเทศไทย นับตั้งแต่รัฐประหาร 2549 และ 2557 จากปรากฏการณ์แห่งยุคสมัยวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองภายใต้ระบบอำนาจนิยม สังคมไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ปัญหาความยุติธรรมตามกฏหมาย ปัญหาความปรองดองสมานฉันท์ หลังจากรัฐประหารปัญหาดังกล่าวไม่ลดลงหรือหมดสิ้นไปกลับมีมากขึ้น ซึ่งทำให้มีการกีดกันทางชนชั้น ในการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย โดยมีวาทกรรมที่ไม่พัฒนาว่า "คนไทยไม่พร้อมขาดความรู้และนักการเมืองเข้ามาโกง" เป็นข้ออ้างกีดกันทางการเมืองและปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยโดยการออกแบบสร้างกฏเกณฑ์ตั้งนายกรัฐมนตรีและอื่นๆและตั้งองค์กรอิสระใช้อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหารไว้ในบทบัญญัติ ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ซึ่งเป็นการผิดหลักดุลแห่งอำนาจตามปรัชญาและทฤษฎีการเมืองประชาธิปไตย เป็นเหตุให้เกิดปัญหาการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย แท้จริงแล้วความรู้หาสำคัญไม่แต่"จิตวิญญาณเสรีประชาธิปไตย"ของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งคือพื้นฐานของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

การเมืองเป็นเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ ฝ่ายใดกุมอำนาจทางการเมืองเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ ย่อมมีอำนาจในการบริหารอำนาจและผลประโยชน์ และจัดสรรทรัพยากร เมื่อฝ่ายใดมีอำนาจเป็นรัฐบาลอีกฝ่ายย่อมเสียผลประโยชน์ การแก้ไขสถานการณ์แห่งความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยในขณะนี่มีแต่สร้างความปรองดองสมานฉันท์และยอมรับอำนาจอธิปไตยปวงชน เป็นการเชื่อมโยงจิตวิญญาณเก่ากับจิตวิญาณใหม่รวมเป็นจิตวิญญานแห่งยุคสมัย คือการเมืองระบอบประชาธิปไตยสากลแบบรัฐสภามีกษัตริย์เป็นประมุข

เพลโตกล่าวไว้ว่า "การเมืองเป็นเรื่องสกปรก" อธิบายได้ว่าการชิงอำนาจทางการเมืองที่ไม่คำนึงถึงวิธีการอันชอบธรรม เพียงเพื่อให้ได้อำนาจทางการเมือง ซึ่งมาเคียเวลลี่ได้อธิบายต่อว่าการได้มาซึ่งอำนาจวิธีการไม่สำคัญเท่าเป้าหมายคืออำนาจและผลประโยชน์


สังคมไทยย่อมแปรเปลี่ยนไปตามกาลและการเมืองย่อมเปลี่ยนไปตามความเป็นอนิจจังของสังคมอมาตยาธิปไตยไทยก็ไม่อาจปฏิเสธสัจจธรรมทางการเมืองได้แต่อย่างใด

No comments:

Post a Comment