+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

ชะตากรรมการเมืองประเทศไทย(2)



วิกฤตการณ์ทางการเมืองประเทศไทย ในรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ซึ่งบริหารประเทศด้วยนโยบายประชานิยม ที่ผ่านมา พ.ศ.2557 เนื่องจากกลุ่มการเมืองอำนาจนิยมชนชั้นนำ ไม่ยอมรับกฏเกณฑ์เสียงข้างมากตามหลักการประชาธิปไตย และคัดค้านนโยบายประชานิยมที่ประชาชนได้รับประโยชน์ตามนโยบายของรัฐบาล  ก่อสถานการณ์เหตุขัดแย้งทางการเมืองสร้างเงื่อนไขให้กองทัพทำรัฐประหารล้มล้างรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งเสียงข้างมากโดยชอบธรรมของประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงของคนในสังคม ระหว่างฝ่ายอำนาจนิยมกับฝ่ายประชาธิปไตย เป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงต่อความไม่ปรองดอง อาจกลายเป็นสงครามกลางเมืองในประเทศไทย ชาวไทยคงไม่อยากจะเห็นคนในสังคมไทย แบ่งฝ่ายต่อสู้กันของกลุ่มชนชั้นนำ กับกลุ่มสามัญชน ด้วยการใช้อาวุธเข้าต่อสู้กันทำสงครามกลางเมืองในอนาคตเป็นเช่นในบางประเทศในโลก

การรัฐประหารในประเทศไทย  แท้จริงแล้วต้นเหตุเป็นการขัดแย้งในเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ในทางการเมืองของกลุ่มชนชั้นนำอำนาจนิยมกับกลุ่มประชาชนประชาธิปไตย เป็นภาวะความไม่เสมอภาคทางการเมืองและความเหลื่อมล้ำอยุติธรรมในสังคมไทย เมื่อประชาชนได้อำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์แต่ชนชั้นนำจะเสียอำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ ทำให้กลุ่มชนชั้นนำไม่อาจยอมรับได้ในกฏเกณฑ์เสียงข้างมากตามหลักการประชาธิปไตย

การรัฐประหารรอบใหม่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยกองทัพล้มล้างรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย คณะรัฐประหาร(คสช.) ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นนำอำนาจนิยมอนุรักษ์นิยม มีความต้องการควบคุมอำนาจทางการเมือง และครอบครองทรัพยากรเหนือประชาชนผ่านทางกองทัพ ระบบราชการ และองค์กรอิสระ โดยอ้างว่าเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ในข้อเท็จจริงปรากฏว่า รัฐประหาร 2549 และ 2557 ก่อประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคของพลเมืองตามพันธกรณีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาติ ทำให้รัฐบาลที่มาจากระบบอำนาจนิยม ขาดความน่าเชื่อถือจากรัฐบาลของนานาประเทศที่เป็นประชาธิปไตยในโลก ซึ่งประเทศในแถบยุโรปแสดงปฏิกริยาไม่ต้องการติดต่อค้าขายกับประเทศไทย จนกว่าประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย

การไม่เสมอภาคทางการเมือง เป็นภาวะความเหลื่อมล้ำอยุติธรรมในสังคมไทย กล่าวคือสังคมไทยแบ่งชนชั้นระหวางกลุ่มชนชั้นนำและกลุ่มชั้นล่างทำให้สังคมกำลังตกอยู่ใน "ภาวะรวยกระจุกจนกระจาย และการกระจุกตัวของอำนาจอย่างไม่ได้สัดส่วน และการสื่อสารชี้นำให้เกิดความเกลียดชังต่อผู้เห็นต่างทางการเมือง" ซึ่งนำไปสู่ความชัดแย้งทางอำนาจและผลประโยชน์ ทำให้ขาดความปรองดอง และเกิดความอยุติธรรมในสังคม

ทางออกการเมืองประเทศไทย ผู้เขียนมีข้อเสนอทางออกที่ดีจากหลุมดำหรือกับดักทางการเมือง คือเซ็ตซีโรประเทศไทยและการเมืองแบบทางสายกลางและกฏแห่งการแบ่งปันทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ

1.การนิรโทษกรรมผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดทางการเมืองทุกกรณี ที่มิได้รับความยุติธรรมโดยเท่าเทียมกันตามกฏหมาย เป็นต้นเหตุให้เกิดความอยุติธรรม เป็นตัวชี้วัดสถานการณ์ของประเทศ

2.รัฐธรรมนูญ"ฉบับปฏิรูป"ควรกำหนดให้ประชาชนทุกคนมี สิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคในทางการเมืองและจัดความสมดุลแห่งอำนาจขององค์กรการเมือง ตามหลักการในระบอบประชาธิปไตย

3.การบริหารจัดการส่วนแบ่งหรือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและทรัพยากรอย่างเป็นธรรมเป็นไปตามกลไกกฏแห่งการแบ่งปันทางเศรษฐกิจตามหลักเศรษฐศาสตร์ให้แก่ประชาชน

ในสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติในขณะนี้ รัฐบาลมีหน้าที่คือ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสร้างความปรองดองของคนในชาติ การบริหารสมดุลแห่งอำนาจทางการเมืองให้แก่กลุ่มการเมืองในสังคมไทยตามระบอบประชาธิปไตย และการบริหารจัดการส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจและทรัพยากรพลังงานอย่างเป็นธรรมให้แก่ประชาชน 

รัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถเสริมสร้างให้เกิดความสมดุลในสังคมและกระจายความผาสุกอย่างเป็นธรรมให้แก่ประชาชน อันจะนำมานำซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศ ชะตากรรมการเมืองไทยคือชะตากรรมประชาชนไทยทั้งประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น