+atom.xml?redirect=false รู้อะไร@iTUKnowledge Blog keyword

หน้าเว็บ

Thursday, October 14, 2010

การเมือง นักศึกษา ประชาชน


14 ตุลาคม 2516 การเมืองของนักศึกษาและประชาชน การแสดงพลานุภาพของประชาชนต่อสู้ทางการเมือง เรียกร้องประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการอำมาตยาธิปไตย จนได้รับชัยชนะ ผู้นำรัฐบาลในขณะนั้นถูกขับออกนอกประเทศ บรรลุเป้าหมายประชาธิปไตย ต่อมามีการตั้งสมัชชาแห่งชาติ ร่างและประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ 2517 ฉบับหนึ่งที่เป็นประชาธิปไตย

ประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของนักศึกษาและประชาชน  เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เป็นเรื่องราวการต่อสู้ทางการเมืองของนักศึกษาและประชาชนโดยการนำของนักศึกษา ไม่อาจบิดเบือนได้ เป็นเรื่องที่บาดลึกทิ่มแทงเข้าไปในหัวใจของคนหลายๆกลุ่ม กล่าวคือ

กลุ่มแรก กลุ่มอำมาตย์ที่ไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น และไม่อยากย้อนรอยและพยายาม บิดเบือนประวัติศาสตร์การต่อสู้ของนักศึกษาและประชาชนโดยการนำของนักศึกษา

กลุ่มที่สอง กลุ่มคนเตือนตุลาที่ทรยศต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย และละทิ้งประชาชน ก็ไม่อยากย้อนรอยให้​ทิ่มแทงตนเอง เพราะในปัจจุบันได้เข้าร่วมฝ่ายอำมาตยาธิปไตยทำลายวิถีประชาธิปไตย

กลุ่มที่สาม กลุ่มคนเดือนตุลาที่ยังยึดมั่นต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย และประชาชน มีพัฒนาการต่อสู้ทางการเมืองใช้วิธีการต่อสู้แบบสันติวิธีไร้ความรุนแรง

กลุ่มอื่นๆ กลุ่มที่ไม่เข้าใจในการพัฒนาการต่อสุ้ทางการเมืองของนักศึกษาและประชาชน ที่เป็นต้นแบบการต่อสู้ทางการเมืองโดยวิธีไร้ความรุนแรงในประเทศไทย

ปรากฏการณ์ทางการเมืองนี้เป็นข้อเท็จจริง ที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในบ้านเมือง เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งเดียวที่การต่อสู้ของประชาชนโดยสันติวิธีไร้ความรุนแรง ที่ฝ่ายประชาธิปไตย ได้รับชัยชนะ ต่อเผด็จการ แม้จะเป็นชัยชนะบนซากศพและกองเลือดและน้ำตาของนักศึกษาและประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นชัยชนะชั่วคราว แต่ก็เป็นชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตย อย่างไรใครก็ไม่อาจปฏิเสธหรือบิดเบือนได้แต่อย่างใด การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน มีต่อสู้ มีชนะ พ่ายแพ้ ต่อสู้อีก จนกว่าจะได้ชัยชนะที่แท้จริง เพราะมันเป็นการต่อสู้ปะทะกันของพลัง2ฝ่ายคือ ฝ่ายอนุรักษ์อำนาจนิยม และฝ่ายประชาธิปไตย ซึ่งฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้เปรียบเพราะกุมพลังอำนาจทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคมที่เหนือกว่าฝ่ายประชาธิปไตย

การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนในทศวรรษที่ผ่านมา การชุมนุมทางการเมืองของมวลชน โดยแกนนำนปช.และประชาชนเรียกร้อง ประชาธิปไตยที่มีรัฐบาลของประชาชน โดยประชาน เพื่อประชาชน ปรากฏรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี สั่งใช้กำลังทหารปราบปรามประชาชน ซึ่งเรียกร้องประชาธิปไตยโดยสันติวิธีอหิงสา ในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษา 53 ณ ผ่านฟ้าราชดำเนิน และ 19 พฤษา53 ณ สี่แยกราชประสงค์ มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ สูญหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนักข่าวต่างประเทศ เป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจบิดเบือนได้เช่นเดียวกันกับ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 การต่อสู้ทางการเมืองของ มวลมหาชนประชาธิปไตยในขณะนี้ ต่างจาก 14 ตุลา 16 เพราะเป็นการต่อสู้ของประชาชนฝ่ายประชาธิปไตย มวลชนต้องไม่หลับหูหลับตาเชื่อมั่นในทฤษฏีปฏิวัติ โดยไม่พิจารณาภาวะวิสัยที่เป็นจริง เพราะมันเป็นเรื่องความเป็นหรือตายของประชาชน  ชัยชนะหรือพ่ายแพ้ทางการเมืองของประชาชน

ชัยชนะหรือพ่ายแพ้ทางการเมืองของประชาชน ขึ้นอยู่กับประเมินสถานการณ์และยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน

No comments:

Post a Comment